.ขอต้อนรับสู่บล็อกครูธนาภรณ์ด้วยความยินดีค่ะ.

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชาคณิตศาสตร์ ป.4

รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ศึกษาจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 การบอกจำนวน การอ่านและการเขียนตัวหนังสือ ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขแทนจำนวนชื่อหลัก ค่าของตัวเลขในแต่ละหลัก การเขียนในรูปกระจาย การเรียงลำดับจำนวน การเปรียบ เทียบจำนวน การบวก การลบ การคูณ การหารจำนวนนับและโจทย์ปัญหา การบวก การลบจำนวนที่มีหลายหลัก การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีหลายหลัก การ คูณจำนวนที่มากกว่าสองหลักกับจำนวนที่มากกว่าสองหลักการหารที่ตัวหารไม่เกิน สามหลัก การบวก ลบ คูณ หารระคน โจทย์ปัญหา เศษส่วน และหมายแสดงการเปรียบเทียบการบวก ลบ เศษส่วน การ อ่านและการเขียนเศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน การใช้เครื่อง การบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน ทศนิยม ความหมาย การอ่านและการเขียนทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง การเปรียบเทียบทศนิยม การใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบ การวัดความยาว การวัดความยาว (กิโลเมตร เมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร และวา) การเลือกเครื่องวัดและหน่วยการวัดความยาว การคะเนความยาว ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดความยาว มาตราส่วนโจทย์ปัญหาและสถานการณ์ การชั่ง การชั่ง (เมตริกตัน กิโลกรัม และขีด) การเลือกเครื่องชั่ง และหน่วยชั่ง การคะเนน้ำหนัก ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการชั่ง โจทย์ปัญหาและสถานการณ์ การตวง การตวง (ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์เซนติเมตร ลิตร มิลลิลิตร และถัง) การเลือกหน่วยการตวง การคะเนปริมาตรหรือความจุ ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการตวง โจทย์ปัญหาและสถานการณ์ เงิน การเขียนจำนวนเงินโดยใช้จุดและการอ่าน การเปรียบเทียบจำนวนเงินและการแลกเงิน รายรับรายจ่าย โจทย์ปัญหาและสถานการณ์ เวลา การ บอกเวลา การเขียน การบอกเวลาโดยใช้จุดและการอ่าน การบอกช่วงเวลา การอ่านและการบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ระบุเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างนาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน และปี โจทย์ปัญหาและสถานการณ์ รูปทรงเรขาคณิตและสมบัติบางประการของรูปเรขาคณิต ส่วน ของระนาบ จุด ส่วนของเส้นตรง เส้นตรง และรังสี มุม รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เส้นทแยงมุม เส้นขนาน ส่วนประกอบของรูปวงกลม และสมบัติพื้นฐานของรูปวงกลม รูปที่มีแกนสมมาตร การประดิษฐ์ลวดลายโดยใช้รูปวงเรขาคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ แบบ ของจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่าๆ กัน แบบรูปของรูปเรขาคณิตและแบบรูปอื่นๆ การบอกความสัมพันธ์หรือการเขียนประโยคสัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ของ สถานการณ์หรือปัญหา สถิติและความน่าจะเป็น การอ่านแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง และ ตาราง การเก็บรวบรวมข้อมูลการเขียนแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่ง ความหมายและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่นอน อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น และไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายแก้ปัญหา ใช้ความรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสมใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมายและการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีความรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง และมีความพอเพียง

รหัสตัวชี้วัด
ค .1.1 ป. 4/1, 4/2 ค.1.2 ป. 4/1, 4/2 , 4/3 ค.2.1 ป. 4/1,4/2 , 4/3 ,4/4 ค.2.2 ป. 4/1,4/2 , 4/3
ค.3.1 ป. 4/1, 4/2 , 4/3 ,4/4 ,4/5 ค.3.2 ป. 4/1 ค.4.1 ป. 4/1, 4/2 ค.5.1 ป. 4/1,4/2 , 4/3
ค.6.1 ป. 4/1, 4/2 , 4/3 ,4/4 ,4/5, 4/6
รวม 29 ตัวชี้วัด

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 เวลา


รหัสวิชา / ชื่อรายวิชา......................................................................................................กลุ่มสาระคณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13 เวลา เวลา 13 ชั่วโมง

ภาคเรียนที่.............................ผู้สอน............................................................โรงเรียน.........................................

1. มาตรฐานการเรียนรู้


ค 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด

ค 2.2 : แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด

ค 6.1 : มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

2. ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้


จุดประสงค์การเรียนรู้

หลักฐาน / ชิ้นงาน / ภาระงาน

1. สามารถบอกความสัมพันธ์ของหน่วยเวลาได้

2. สามารถบอกเวลาบนหน้าปัดนาฬิกา อ่านและเขียนบอกเวลาโดยใช้จุด และบอกระยะเวลาได้

3. สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับเวลาได้

4. สามารถอ่านและเขียนบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่ระบุเวลาได้

- กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.2

- กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.1 ข้อ 1-3

- กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.3

- กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.4 ข้อ 1-2

3. สาระการเรียนรู้


1. การบอกเวลา

2. ความสัมพันธ์ของหน่วยเวลา

3. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา

4. การอ่านและเขียนบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์

4. กิจกรรมการเรียนรู้


กิจกรรมที่ u การบอกเวลา เวลา 3 ชั่วโมง

(วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา)

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 1


กิจกรรมนำสู่การเรียน


1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ

2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จากนั้นตรวจให้คะแนนโดยไม่เฉลยคำตอบ

ลูกศรขวา: เฉลย แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)

1. ก 2. ง 3. ค 4. ข 5. ง

6. ง 7. ก 8. ข 9. ค 10. ง

กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้


ขั้นทบทวนความรู้เดิม

1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันทั้งเด็กเก่ง เด็กอ่อน เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย

2. ครูนำนาฬิกาจำลองมา แล้วชี้ส่วนประกอบต่างๆ เช่น เข็มสั้น เข็มยาว เข็มวินาที แล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกว่าเข็มแต่ละชนิดบอกเวลาต่างกันอย่างไร

3. ครูทบทวนการบอกเวลาเป็นนาฬิกา โดยนำนาฬิกาจำลองให้นักเรียนดู แล้วหมุนเข็มนาฬิกาเพื่อให้นักเรียนบอกเวลา เช่น 7 นาฬิกา 8 นาฬิกา 12 นาฬิกา เป็นต้น

4. ครูให้นักเรียนทุกกลุ่มดูกิจกรรมนำสู่การเรียน ในหนังสือเรียน (หน้า 265) ดูรูปนาฬิกา แล้วให้บอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที และให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า หากต้องการเขียนบอกเวลาโดยใช้จุดจะเขียนได้อย่างไร

ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่

1. นักเรียนแต่ละคนจับฉลากเพื่อศึกษาความรู้ เรื่อง เกี่ยวกับการบอกเวลา ในหัวข้อต่อไปนี้

1)การบอกเวลาจากหน้าปัดนาฬิกาเป็นนาฬิกาและนาที

2)การเขียนบอกเวลาโดยใช้จุดและการอ่าน

3)การบอกระยะเวลา

2. นักเรียนที่จับฉลากได้หัวข้อเดียวกัน ให้รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มใหม่

ขั้นศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล

นักเรียนในกลุ่มใหม่ศึกษาความรู้ตามหัวข้อที่ได้รับ จากหนังสือเรียน (หน้า 266-269) และทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ดังนี้

- กลุ่มที่ 1 การบอกเวลาจากหน้าปัดนาฬิกาเป็นนาฬิกาและนาที ทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 (หน้า 267)

- กลุ่มที่ 2 การเขียนบอกเวลาโดยใช้จุดและการอ่าน ทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2 (หน้า 268)

- กลุ่มที่ 3 การบอกระยะเวลา ทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 3 (หน้า 269)

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 2


ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม

1. นักเรียนกลุ่มใหม่กลับไปกลุ่มเดิม นำความรู้ที่ตนได้ศึกษากลับไปถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนกลุ่มเดิมฟัง

2. นักเรียนในกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้

1. นักเรียนกลุ่มเดิมร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การบอกเวลา ทั้งที่เป็นความรู้เดิมและความรู้ใหม่

2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้ลงในกระดาษที่ครูแจกให้ เขียนชื่อสมาชิกกลุ่มไว้ด้านหลัง

ขั้นปฏิบัติ / แสดงผลงาน

1. นักเรียนกลุ่มเดิมร่วมกันคิดว่า จะนำเสนอผลงานในรูปแบบใด เพื่อให้เพื่อนกลุ่มอื่นเข้าใจง่ายและเป็นวิธีการที่แปลกใหม่

2. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปอีกครั้ง

ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้

1. ครูให้นักเรียนกลุ่มเดิม (4 คน) ประดิษฐ์นาฬิกาจำลอง กลุ่มละ 1 เรือน

2. ให้แต่ละกลุ่มนำนาฬิกาจำลองที่ประดิษฐ์ไว้มาตั้งเวลา แล้วให้สมาชิกในกลุ่มบอกเวลา

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 3

กิจกรรมรวบยอด


1. นักเรียนทุกคนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 13.1 ข้อ 1-3 ในหนังสือเรียน (หน้า 270)

2. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

กิจกรรมที่ v ความสัมพันธ์ของหน่วยเวลา เวลา 3 ชั่วโมง

(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 1

กิจกรรมนำสู่การเรียน


1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับหน่วยที่ใช้บอกเวลาว่ามีอะไรบ้าง เช่น วินาที นาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน ปี เป็นต้น

2. ครูทบทวนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของหน่วยเวลา โดยให้นักเรียนตอบคำถาม ดังนี้

- 60 วินาที เท่ากับกี่นาที (1 นาที)

- 60 นาที เท่ากับกี่ชั่วโมง (1 ชั่วโมง)

- 24 ชั่วโมง เท่ากับกี่วัน (1 วัน)

3. ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน (หน้า 271) ดูกิจกรรมนำสู่การเรียน โดยให้นักเรียนพิจารณาหน่วยที่กำหนดให้ แล้วช่วยกันบอกว่าหน่วยใดบ้างเป็นหน่วยเวลา

กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้


ขั้นที่ 1 สังเกต รับรู้

1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับมาตราเวลา โดยให้นักเรียนดูแผนภูมิและอ่านพร้อมกัน ดังนี้


2. ครูยกตัวอย่างโจทย์การเปลี่ยนหน่วยเวลาจากหน่วยหนึ่งเป็นอีกหน่วยหนึ่งโดยใช้ความสัมพันธ์ของหน่วยเวลาที่กำหนดในมาตราเวลา

120 วินาที คิดเป็นกี่นาที

วิธีคิด 60 วินาที เป็น 1 นาที

120 วินาที เป็น 120 ÷ 60 = 2 นาที

ดังนั้น 120 วินาที เท่ากับ 2 นาที

ตัวอย่าง

4 ชั่วโมง เท่ากับกี่นาที

วิธีคิด 1 ชั่วโมง เท่ากับ 60 นาที

4 ชั่วโมง เท่ากับ 4 × 60 = 240 นาที

ดังนั้น 4 ชั่วโมง เท่ากับ 240 นาที


3. ครูยกตัวอย่างการเปลี่ยนหน่วยเวลาหลายๆ ตัวอย่าง ให้นักเรียนฝึกเปลี่ยนหน่วยเวลา แล้วร่วมกันอภิปรายวิธีการเปลี่ยนหน่วยเวลา ดังนี้

การเปลี่ยนหน่วยเวลาจาก

หน่วยใหญ่เป็นหน่วยย่อย

การเปลี่ยนหน่วยเวลาจาก

หน่วยย่อยเป็นหน่วยใหญ่

จำนวนนาที × 60

จำนวนชั่วโมง × 60

จำนวนวัน × 24

จำนวนสัปดาห์ × 7

จำนวนเดือน × 30

จำนวนปี × 365

จำนวนปี × 52

จำนวนปี × 12

= วินาที

= นาที

= ชั่วโมง

= วัน

= วัน

= วัน

= สัปดาห์

= เดือน

จำนวนวินาที ÷ 60

จำนวนนาที ÷ 60

จำนวนชั่วโมง ÷ 24

จำนวนวัน ÷ 7

จำนวนวัน ÷ 30

จำนวนสัปดาห์ ÷ 52

จำนวนเดือน ÷ 12

จำนวนวัน ÷ 365

= นาที

= ชั่วโมง

= วัน

= สัปดาห์

= เดือน

= ปี

= ปี

= ปี

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 2


ขั้นที่ 2 ทำตามแบบ

ครูกำหนดโจทย์การเปลี่ยนหน่วยเวลา แล้วให้นักเรียนแสดงวิธีคิดหาคำตอบ เช่น

- คุณปู่อายุ 45 ปี คุณปู่มีอายุกี่เดือน

- นิดทำงานวันละ 480 นาที นิดทำงานวันละกี่ชั่วโมง

ขั้นที่ 3 ทำเองโดยไม่มีแบบ

1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ในหนังสือเรียน (หน้า 272-273)

2. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 3


ขั้นที่ 4 ฝึกทำให้ชำนาญ

ครูให้นักเรียนจับคู่กัน แล้วให้คนหนึ่งเป็นคนกำหนดโจทย์เวลา แล้วอีกคนเป็นคนเปลี่ยน หน่วยเวลาใหม่ โดยทั้งสองคนผลัดกันทำหน้าที่ เช่น

นักเรียนคนที่ 1 : 120 นาที เป็นกี่ชั่วโมง

นักเรียนคนที่ 2 : 2 ชั่วโมง

กิจกรรมรวบยอด


1. หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเวลาแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า

- มาตราเวลา

60 วินาที เป็น 1 นาที

60 นาที เป็น 1 ชั่วโมง

24 ชั่วโมง เป็น 1 วัน

7 วัน เป็น 1 สัปดาห์

28, 29, 30 หรือ 31 วัน เป็น 1 เดือน

52 สัปดาห์ เป็น 1 ปี

12 เดือน เป็น 1 ปี

365 หรือ 366 วัน เป็น 1 ปี

- การเปลี่ยนหน่วยเวลา เป็นการเปลี่ยนหน่วยเวลาจากหน่วยหนึ่งเป็นอีกหน่วยหนึ่ง โดยใช้ความสัมพันธ์ของหน่วยเวลาที่กำหนดในมาตราเวลามาช่วย

2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 13.2 ในหนังสือเรียน (หน้า 273)

3. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม


กิจกรรมที่ w โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา เวลา 3 ชั่วโมง

(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 1

กิจกรรมนำสู่การเรียน


1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของหน่วยเวลาและการเปลี่ยนหน่วยเวลา แล้วให้นักเรียนบอกมาตราเวลาพร้อมกัน

2. ครูนำแถบโจทย์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเวลาให้นักเรียนฝึกหาคำตอบ เช่น

- 185 วินาที คิดเป็นกี่นาที (3 นาที 5 วินาที)

- 65 ชั่วโมง คิดเป็นกี่วัน กี่ชั่วโมง (2 วัน 17 ชั่วโมง)

- 7 สัปดาห์ 3 วัน คิดเป็นกี่วัน (52 วัน)

- 29 เดือน เป็นกี่ปี กี่เดือน (2 ปี 5 เดือน)

ฯลฯ

3. ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน (หน้า 274) ดูกิจกรรมนำสู่การเรียน โดยพิจารณาโจทย์ ที่กำหนด แล้ววิเคราะห์โจทย์ โดยการตอบคำถาม

กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้


ขั้นที่ 1 สังเกต รับรู้

1. ครูติดแถบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาให้นักเรียนอ่าน แล้วซักถามนักเรียน ดังนี้

ปัจจุบันน้องอายุ 5 ปี 4 เดือน อีก 6 ปี 6 เดือน

น้องจะมีอายุกี่ปี กี่เดือน


- สิ่งที่โจทย์กำหนดให้คืออะไร (อายุของน้องปัจจุบัน)

- สิ่งที่โจทย์ถามคืออะไร (อีก 6 ปี 6 เดือน น้องอายุกี่ปี กี่เดือน)

- ใช้วิธีอะไรในการหาคำตอบ (วิธีบวก)

จากนั้นครูแสดงวิธีทำบนกระดานให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง แล้วช่วยกันหาคำตอบ ดังนี้

วิธีทำ ปี เดือน

น้องมีอายุ 5 4

อีก 6 6

น้องจะมีอายุ 11 10

ตอบ ๑๑ ปี ๑๐ เดือน

+


2. ครูให้นักเรียนสังเกตการแสดงวิธีทำ แล้วร่วมกันอภิปรายว่า

- การแสดงวิธีทำให้ตั้งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่ไว้ทางซ้ายมือ ส่วนหน่วยย่อยไว้ทางขวามือ

3. ครูยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์โจทย์ แสดงวิธีทำและหาคำตอบอีก 2-3 ตัวอย่าง

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 2


ขั้นที่ 2 ทำตามแบบ

ครูให้นักเรียนฝึกแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา โดยครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน แข่งขันกันแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา จากแถบโจทย์ปัญหาที่ครูติดบนกระดาน โดยครูเปิดให้นักเรียนดูทีละข้อ กลุ่มใดตอบได้ถูกต้องภายในเวลาที่ครูกำหนดจะได้ข้อละ 1 คะแนน จากนั้นให้ตัวแทนกลุ่มที่ตอบคำถามถูกต้องมาแสดงวิธีทำให้เพื่อนดู แล้วครูตรวจสอบความถูกต้อง

ขั้นที่ 3 ทำเองโดยไม่มีแบบ

1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ในหนังสือเรียน (หน้า 276)

2. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 3


ขั้นที่ 4 ฝึกทำให้ชำนาญ

ครูแจกบัตรโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาให้นักเรียนคนละ 1 ใบ โดยนักเรียนที่นั่งใกล้กันจะได้โจทย์ปัญหาที่ไม่ซ้ำกัน จากนั้นให้นักเรียนทุกคนอ่านโจทย์ปัญหาให้เข้าใจ แล้ววิเคราะห์โจทย์และแสดงวิธีทำโจทย์ปัญหาที่ตนเองได้รับ

กิจกรรมรวบยอด


1. หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า

- การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา เป็นการนำหน่วยเวลามาบวก ลบ คูณ หรือหารกัน โดยตั้งหน่วยเวลาหน่วยใหญ่ไว้ทางซ้ายมือ และหน่วยย่อยไว้ทางขวามือ

- การแก้โจทย์ปัญหามีขั้นตอนเหมือนการแก้โจทย์ปัญหาทั่วไป คือ วิเคราะห์โจทย์ว่า โจทย์กำหนดอะไร โจทย์ถามอะไร และใช้วิธีการใดหาคำตอบ แล้วแสดงวิธีทำ

2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 13.3 ในหนังสือเรียน (หน้า 276)

3. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

กิจกรรมที่ x การอ่านและการเขียนบันทึกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ เวลา 4 ชั่วโมง

(วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 1

กิจกรรมนำสู่การเรียน


1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการอ่านตารางเวลาว่า นักเรียนเคยอ่านตารางเวลาเกี่ยวกับอะไรบ้าง โดยครูยกตัวอย่างเช่น

- การเดินทางไปสถานที่ต่างๆ โดยรถไฟ รถประจำทาง ผู้ที่ใช้บริการจำเป็นต้องทราบเวลาการเดินรถจากตารางเวลา ซึ่งจะบอกความสัมพันธ์ระหว่างสถานี และเวลารถออกจากสถานี รถถึงสถานี

2. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างตารางเวลาอื่นๆ ที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและกิจกรรมต่างๆ เช่น

- ตารางแสดงรายการโทรทัศน์

- ตารางแสดงการแข่งขันกีฬา

- ตารางสอน

ฯลฯ

3. ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน (หน้า 277) ดูกิจกรรมนำสู่การเรียน แล้วเขียนบอกเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ระบุไว้ของตัวนักเรียนเอง

กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้


ขั้นที่ 1 สังเกต รับรู้

1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน หรือการเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ที่นักเรียนประทับใจ และถามนักเรียนว่าเคยจดบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้นไว้บ้างหรือไม่ แล้วครูยกตัวอย่างบันทึกกิจกรรมให้นักเรียนดู

บันทึกการเดินทางไปเที่ยวเขาใหญ่

ของ ด.ช.วสิน สดใส

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2551

8.00 น.

9.30 น.

11.00 น.

12.30 น.

14.20 น.

15.30 น.

18.00 น.

ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ

ถึงเขื่อนคลองท่าด่าน

เที่ยวน้ำตกสาริกา

พักรับประทานอาหารกลางวัน

ถึงเขาใหญ่

เที่ยวน้ำตกเหวสุวัต

ถึงที่พัก

2. ครูให้นักเรียนอ่านบันทึกการเดินทาง ของ ด.ช.วสิน สดใส แล้วตอบคำถาม ดังนี้

- บันทึกนี้เป็นของใคร (ด.ช.วสิน สดใส)

- ด.ช.วสินไปเที่ยวเขาใหญ่เมื่อไหร่ (29 มกราคม 2551)

- ด.ช.วสิน ใช้เวลาจากเขื่อนคลองท่าด่านถึงน้ำตกสาริกานานเท่าใด (1 ชั่วโมง 30 นาที)

- ด.ช.วสิน เดินทางถึงเขาใหญ่เวลาใด (14.20 น.)

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 2


3. ครูนำแผนภูมิตารางเวลาการเดินรถให้นักเรียนดู แล้วบอกส่วนประกอบของตารางและให้นักเรียนตอบคำถาม ดังนี้

กำหนดเวลาเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

จากสถานีกรุงเทพฯ ถึงสถานีสุรินทร์

ขบวนรถ

สถานี

ด่วนพิเศษ

971

ธรรมดา

63

กรุงเทพฯ

นครราชสีมา

สุรินทร์

อ. ถ.

อ. ถ.

06.05 น.

10.00 น.

10.10 น.

12.12 น.

15.25 น.

21.15 น.

21.28 น.

00.57 น.

อ. หมายถึง เวลาขบวนรถออก ถ. หมายถึง เวลาขบวนรถถึง

- ตารางนี้เป็นตารางเวลาอะไร (ตารางเวลาเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานี

กรุงเทพฯ ถึงสถานีสุรินทร์)

- ในตารางให้ข้อมูลอะไรบ้าง (ชื่อตาราง, สถานีรถไฟ, ขบวนรถ, เวลาที่รถออกและเวลาที่รถมาถึง)

- ตารางนี้มีประโยชน์อย่างไร (ทำให้ทราบเวลาเดินรถ เพราะรถจะออกตามเวลาที่กำหนดแน่นอน)

4. ครูให้นักเรียนฝึกอ่านตารางเวลาเดินรถ โดยครูอ่านให้นักเรียนฟังเป็นตัวอย่าง ดังนี้

- รถด่วนพิเศษ 971 ออกจากสถานีกรุงเทพฯ เวลา 06.05 น. ถึงสถานีนครราชสีมา เวลา

10.00 น.

- รถธรรมดา 63 ออกจากสถานีกรุงเทพฯ เวลา 15.25 น. ถึงสถานีนครราชสีมา เวลา 21.15 น.

5. ครูให้นักเรียนตอบคำถามจากข้อมูลในตารางการเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้

- รถด่วนพิเศษ 971 ออกจากนครราชสีมาเวลาใด (10.10 น.)

- รถธรรมดา 63 ถึงสถานีสุรินทร์เวลาใด (00.57 น.)

- รถขบวนใดออกจากกรุงเทพฯ เวลา 15.25 น. (รถธรรมดา 63)

- รถขบวนด่วนพิเศษ 971 จากนครราชสีมาถึงสุรินทร์ใช้เวลาเท่าใด (2 ชั่วโมง 2 นาที)

6. ครูนำตัวอย่างตารางเวลาหลายๆ แบบให้นักเรียนฝึกอ่าน พร้อมทั้งฝึกตั้งคำถามและตอบคำถามจากตาราง

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 3

ขั้นที่ 2 ทำตามแบบ

1. ครูให้นักเรียนดูตัวอย่าง บันทึกการเดินทางไปจังหวัดเวลาเพชรบุรี ด.ช.นวพล พูนเพิ่ม ในหนังสือเรียน (หน้า 278) จากนั้นช่วยกันบอกรายละเอียดที่ได้จากบันทึกที่นอกเหนือจากในตัวอย่าง

2. ครูนำตารางเดินรถไฟมาให้นักเรียนดู แล้วครูถามคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ

ขั้นที่ 3 ทำเองโดยไม่มีแบบ

1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 ข้อ 1, 2 ในหนังสือเรียน (หน้า 279) เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2 ในหนังสือเรียน (หน้า 280) เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

สี่เหลี่ยมมุมมน: ชั่วโมงที่ 4


ขั้นที่ 4 ฝึกทำให้ชำนาญ

ครูให้นักเรียนนำตารางสอนของตนเองขึ้นมา จากนั้นครูถามแล้วให้นักเรียนตอบ เช่น

- นักเรียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์วันใดบ้าง เวลาอะไร

- นักเรียนเรียนวิชาสังคมศึกษาฯ วันใดบ้าง เวลาอะไร

กิจกรรมรวบยอด


1. หลังจากที่นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านตารางและบันทึกเหตุการณ์หรือกิจกรรมแล้ว

ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจนได้ข้อสรุปว่า

- ตารางเวลา เป็นแผนภูมิแสดงกำหนดเวลาที่สัมพันธ์กับกิจกรรม เช่น ตารางเวลารถไฟ

ตารางสอน เป็นต้น

- การบันทึกเหตุการณ์หรือกิจกรรม เป็นการเขียนบันทึกรายการกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆ
ที่กระทำไปแล้ว ในวัน เวลา สถานที่ต่างๆ

2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 13.4 ข้อ 1-2 ในหนังสือเรียน (หน้า 281)

3. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

4. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบที่ 13 ในหนังสือเรียน (หน้า 282-283)

5. ครูมอบหมายให้นักเรียนจัดทำชิ้นงาน กิจกรรมบูรณาการฯ ในหนังสือเรียน (หน้า 281) โดยให้นักเรียนเขียนบันทึกรายการต่างๆ ของสถานีโทรทัศน์ โดยเลือกมา 1 ช่องสถานี จากนั้นตั้งคำถามจากข้อมูลมา 5 ข้อ

6. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดส่งชิ้นงาน

5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้


1. สื่อการเรียนรู้ (ตัวอย่าง : สื่อฯ มมฐ. หลักสูตรแกนกลางฯ คณิตศาสตร์ ป.4)

2. ตัวอย่างนาฬิกาของจริงและนาฬิกาจำลอง

3. แถบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา

6. การวัดและประเมินผล


6.1 หลักฐานการเรียนรู้ (ชิ้นงานสุดท้ายที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้รวบยอด)

1. กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.1 ข้อ 1

2. กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.1 ข้อ 2

3. กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.1 ข้อ 3

4. กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.2

5. กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.3

6. กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.4 ข้อ 1

7. กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.4 ข้อ 2

8. ผลงานเรื่อง การเขียนบันทึกรายการโทรทัศน์

6.2 วิธีการวัดและประเมินผล

1. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 13.1 ข้อ 1-3

2. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 13.2

3. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 13.3

4. ตรวจการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 13.4 ข้อ 1-2

5. สังเกตการใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม จากการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 13.3

6. สังเกตการใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จากการทำกิจกรรมพัฒนาการคิด 13.1, 13.2 และ 13.4ละเหมาะสม จกรรมกหลายแก้ปัญหา ัดจริงและเปลี่ยนหน่วยใหม่าค่าความคลาดเคลื่อน แล้วเปลี่ยนหน่วยวัดความยาวจากที่วัดไว้เป็นหน่วยใหม่

7. ประเมินผลงานเรื่อง การเขียนบันทึกรายการโทรทัศน์

8. สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรม

6.3 เครื่องมือวัดและประเมินผลและเกณฑ์

1. กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.1 ข้อ 1-3

2.

(ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์)

กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.2

3. กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.3

4. กิจกรรมพัฒนาการคิด 13.4 ข้อ 1-2

5. แบบประเมินทักษะคณิตศาสตร์

6.

(ดูเกณฑ์ในแบบประเมิน)

แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์

7. แบบประเมินผลงาน

8. แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน 5 ด้าน

9. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ด้าน

7. กิจกรรมเสนอแนะ


-

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................